Advertisement
Active Learning 2567 กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก สู่สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน จาก สพฐ. สู่การพัฒนาสมรรถนะสําคัญของผู้เรียน 5 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
Active Learning 2567 กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก สู่สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน จาก สพฐ. สู่การพัฒนาสมรรถนะสําคัญของผู้เรียน 5 ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เอกสาร “กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สู่สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน” เป็นเอกสารที่สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพัฒนาขึ้นสําหรับครู โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาครูสนับสนุนครูให้สามารถออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)เพื่อนําไปสู่การพัฒนาสมรรถนะสําคัญของผู้เรียน ๕ ประการ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) และสร้างการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของผู้เรียน อันเป็นพื้นฐานสําหรับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไปสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นได้ออกแบบกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผ่านรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ใน ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ได้แก่
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอขอบคุณคณะทํางานทุกท่าน ประกอบด้วยทรงคุณวุฒิ
ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนที่ช่วยให้เอกสารชุดนี้มีความสมบูรณ์ มีคุณภาพตามหลักวิชาการ
ถูกต้องและเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมในแต่ละระดับชั้น
ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนที่ช่วยให้เอกสารชุดนี้มีความสมบูรณ์ มีคุณภาพตามหลักวิชาการ
ถูกต้องและเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมในแต่ละระดับชั้น
และหวังว่าจะช่วยส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนําความรู้และทักษะไปใช้ในสถานการณ์จริงได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง ในการนําไปพัฒนาคุณภาพผู้เรียนต่อไป
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) วิชาภาษาไทย
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) วิชาภาษาอังกฤษ
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) วิชาคณิตศาสตร์
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) วิชาสังคมศึกษา ฯ
ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
จัดทำโดย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา