Advertisement

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย (16 สิงหาคม 2566)

0
431
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย (16 สิงหาคม 2566)
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย (16 สิงหาคม 2566)

Advertisement

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

Advertisement

เลขาธิการ ก.ค.ศ. เปิดเผยว่าในการประชุม อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเกี่ยวกับวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ครั้งที่ 8/2566 เมื่อวันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 ได้มีมติอนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 รายได้แก่วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญจำนวน 4 ราย วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย วิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย และวิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญจำนวน 2 ราย ดังนี้

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย (16 สิงหาคม 2566)
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย (16 สิงหาคม 2566)

หลักเกณฑ์ฯ ว 17/2552 จำนวน 13 ราย ดังนี้

1. เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จำนวน 3 รายได้แก่

1) นายวทัญญู บุตรศรี วิทยาลัยสารพัดช่างอุบลราชธานี(ผลงานทางวิชาการ คือ 1.การพัฒนาเครื่องย้อมสีเส้นไหมและฝ้ายแบบใช้หม้อต้มประหยัดพลังงาน พร้อมเอกสารประกอบ 2. ชุดการสอน วิชาโครงการรหัสวิชา 3104 – 8501 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2557 ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง พร้อมเอกสารประกอบ)
2) นายเกียรติศักดิ์ ชัยยาณะ โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ สพม. เขต 34
(ผลงานทางวิชาการ คือ 1. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้
แบบสืบเสาะสาระเศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และเทคโนโลยี และการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมเอกสารประกอบ 2. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาการรู้ เรื่อง ภูมิศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์
ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย : กรณีศึกษาโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ พร้อมเอกสารประกอบ)
3) นายภาณุวิชญ์ เตชะบูรณ์ โรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี สพป.เชียงราย เขต 4
(ผลงานทางวิชาการ คือ 1. ผลการสร้างและการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำรงชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี
อำเภอพญาเม็งราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 พร้อมเอกสารประกอบ
2. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด พลเมืองดีในวิถีสังค มไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแม่หลวงอุปถัมภ์ไทยคีรี
จังหวัดเชียงราย พร้อมเอกสารประกอบ)

2. เลื่อนเป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 10 ราย ได้แก่
1) นายบุญเทพ พิศวง โรงเรียนเชียงแสนวิทยาคม สพม.เชียงราย (ผลงานทางวิชาการ คือ
1. การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้ยุธศาสตร์ 3 ดี ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียน
เชียงแสนวิทยาคม 2. การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียน
เชียงแสนวิทยาคม)

2) นายจรัล แก้วเป็ง โรงเรียนแม่จันวิทยาคม สพม.เชียงราย (ผลงานทางวิชาการ คือ
1. การพัฒนารูปแบบการบริหารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียน
แม่จันวิทยาคม 2. รายงานการประเมินโครงการห้องเรียนอาชีพ โรงเรียนแม่จันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย)

3) นายสุวิทย์ สุทาลา ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา สำนักบริหารงาน
การศึกษาพิเศษ (ผลงานทางวิชาการ คือ 1.การพัฒนารูปแบบการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา 2. การประเมิน
โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพะเยา
พร้อมเอกสารประกอบ)

Advertisement

4) นายชาญชัย แสนจันทร์ วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ (ผลงานทางวิชาการ คือ 1. รูปแบบ
การยกระดับคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาในพื้นที่ชายขอบของวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ 2. การประเมินโครงการ
ธนาคารโรงเรียนของวิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ)

5) นางคำปิ่น ทีสุกะ โรงเรียนบ้านเหล่าพัฒนา สพป.นครพนม เขต 2 (ผลงานทางวิชาการ คือ
1. การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนบ้านเหล่าพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 พร้อมเอกสารประกอบ 2. รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
สู่โรงเรียนพระราชทาน โดยใช้รูปแบบ GLISS ของโรงเรียนบ้านเหล่าพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครพนม เขต 2)

6) นายสิรวิชญ์ ธนเศรษฐ์วงศ์วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี(ผลงานทางวิชาการ คือ
1. กลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีเพื่อพัฒนาศักยภาพ
สู่วิทยาลัยนวัตกรรม 2. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีสู่ความเป็นเลิศเพื่อรองรับ
การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 พร้อมเอกสารประกอบ)

7) นางจรุญ จารุสาร โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม สพม.นนทบุรี(ผลงานทางวิชาการ คือ
1. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม พร้อมเอกสารประกอบ
2. รายงานการประเมินโครงการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม)

8) นายรังสรรค์ นกสกุลโรงเรียนเทพลีลา สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 2 (ผลงานทางวิชาการ
คือ 1. กลยุทธ์การบริหารเพื่อการนิเทศภายในสถานศึกษาในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนของ
โรงเรียนเทพลีลา พร้อมเอกสารประกอบ 2. การประเมินโครงการสร้างนักเรียน สร้างคุณภาพ สู่สังคม ด้วยระบบ
ดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเทพลีลา)

9) นายสมพร สังวาระ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 2
(ผลงานทางวิชาการ คือ 1. รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า 2. การประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะนักเรียนเชิงบวก โรงเรียน
เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า โดยการประยุกต์ใช้แนวทางศาสตร์พระราชา)

10) นายราชันต์ ทิพยโสต โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 (ผลงาน
ทางวิชาการ คือ 1. การพัฒนารูปแบบ 4C4D เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนเดื่อวิทยาคาร 2. การประเมินโครงการค่ายดนตรีคนคุณธรรม นำเยาวชนไทยห่างไกลยาเสพติด
โรงเรียนเดื่อวิทยาคาร)

หลักเกณฑ์ฯ ว 21/2560 เลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย ได้แก่

นางรัชนี เต็มแก้ว
โรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย สพป.นนทบุรี เขต 2 (ผลงานทางวิชาการ คือ 1. ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว รูปแบบ
Active Learning ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อแบบอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน
ชุมชนวัดไทรน้อย จังหวัดนนทบุรีพร้อมเอกสารประกอบ 2. การพัฒนาเจตคติต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ด้วยโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ตามทฤษฎีเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม
กรณีศึกษาโรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย พร้อมเอกสารประกอบ)

หลักเกณฑ์ฯ ว 12/2561 จำนวน 2 ราย ดังนี้
1. มีวิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย ได้แก่
นางสาวเจนจรี สร้อยประเสริฐ สำนักงาน กศน.จังหวัดอุตรดิตถ์ (ผลงานทางวิชาการ คือ การพัฒนาครู
ในการจัดทำสื่อบทเรียนออนไลน์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรศึกษานอกระบบระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา
ตามอัธยาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์)
2. มีวิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ราย ได้แก่
นายประยงค์ เลาลักษณ์จรรยา สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 (ผลงานทางวิชาการ คือ รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้าง
คุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 4)
หลักเกณฑ์ฯ ว 12/๒๕64 มีวิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ
จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายณัฐกุล รุณผาบ สพป.ลำพูน เขต 1 (ผลงานทางวิชาการ คือ รายงานการวิจัย
ปัจจัยความสำเร็จที่มีต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กรณีศึกษา โครงการธารน้ำใจ
สร้างบ้านใหม่ให้นักเรียน ประจำปี 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1)

ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย (16 สิงหาคม 2566)
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย (16 สิงหาคม 2566)
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย (16 สิงหาคม 2566)
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย (16 สิงหาคม 2566)
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย (16 สิงหาคม 2566)
ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย (16 สิงหาคม 2566)

ดาวน์โหลดไฟล์ : ประกาศอนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ จำนวน 17 ราย