Advertisement
กระทู้ธรรม ชั้นตรี โท เอก การเขียนเรียงความ แก้กระทู้ธรรม สอบ 7 ธ.ค. 2566 ระดับ ธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก ควรเขียนอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ
กระทู้ธรรม ชั้นตรี โท เอก การเขียนเรียงความ แก้กระทู้ธรรม สอบ 7 ธ.ค. 2566 ระดับ ธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก ควรเขียนอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ
Advertisement
กระทู้ธรรม ชั้นตรี โท เอก การเขียนเรียงความ แก้กระทู้ธรรม วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ธรรมศึกษา ชั้นตรี ระดับ ประถมศึกษา ให้ผู้เรียนแต่งอธิบายความกระทู้สุภาษิตที่กําหนด ให้อย่างสมเหตุสมผลและอ้างอิงสุภาษิตที่กําหนดให้เท่านั้น มา ประกอบการอธิบายไม่น้อยกว่า 1 สุภาษิต โดยต้องอธิบาย ร้อยเรียงและเชื่อมโยงแนวคิดสําคัญให้สัมพันธ์กับกระทู้สุภาษิตที่ กําหนดให้พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจําวัน โดยชั้นนี้ กําหนดความยาวตั้งแต่ 2 หน้าขึ้นไป (เว้นบรรทัด)
กระทู้ธรรมคือ ?
การเรียงความแก้กระทู้ธรรม เป็นการแสดงออกซึ่งความรู้ ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึก ของผู้เขียนซึ่งได้มาจากการศึกษาวิชาธรรมะ พุทธะ และเบญจศีลเบญจธรรม ว่าสามารถจะถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึกออกไปสู่ผู้อื่นได้ดีหรือไม่
การเรียนรู้วิชาธรรมะ พุทธะ และเบญจศีลเบญจธรรม เปรียบเหมือนนักเรียนไปเก็บเอาดอกไม้ที่ต่างสี ต่างขนาด มากองรวมกันไว้ ส่วนการเรียงความแก้กระทู้ธรรม เปรียบเหมือนนักเรียนคัดเอาดอกไม้เหล่านั้นมาปักแจกัน จะทำได้สวยงามแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน ที่จะแต่งอย่างไร
ตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา การเขียนหรือการพูดที่จัดว่าดีนั้น ต้องเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านหรือผู้ฟัง ๔ ประการ คือ ๑. ได้ความรู้ความเข้าใจ ๒. เกิดความเลื่อมใสใคร่ปฏิบัติตาม ๓. กล้าทำความดี ๔. มีความบันเทิงใจ ไม่เบื่อหน่าย
1. ผู้อ่านหรือผู้ฟังจะได้รับความรู้ ความเข้าใจนั้น ผู้เขียนและผู้พูดจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีเสียก่อน สรุป สั้น ๆ คือ จำได้ เข้าใจชัด ปฏิบัติถูกต้อง
2. ผู้อ่านหรือผู้ฟัง จะเกิดความเลื่อมใส ใคร่ปฏิบัติตาม ผู้เขียนหรือผู้พูดจะต้องชี้แจงให้เห็นโทษของการไม่ปฏิบัติอย่างนั้นว่า ไม่ดีอย่างไร
3. ผู้อ่านหรือผู้ฟังจะกล้าทำความดี ผู้เขียนหรือผู้พูด จะต้องชี้แจงให้เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของการปฏิบัติอย่างนั้นว่า ดีอย่างไร
4. ผู้อ่านหรือผู้ฟัง จะมีความบันเทิงใจ ไม่เบื่อหน่าย ก็เพราะได้รับความรู้ความเข้าใจ เห็นโทษของการไม่ปฏิบัติ และเห็นคุณประโยชน์ของการปฏิบัตินั้น ๆ นั่นเอง
ฉะนั้น วิชากระทู้ธรรมจึงเป็นวิชาที่สำคัญ น่าศึกษาวิชาหนึ่ง เพราะเป็นการเอาวิชาที่เรียนแล้วมาประติดประต่อให้ได้ใจความสอดคล้องกับกระทู้ธรรมตามที่สนามหลวงออกมา เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความเข้าใจ ความคิดและความรู้สึกที่แท้จริงของผู้เขียน และเป็นเหตุให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความคิด และความรู้สึกแก่ผู้อื่นด้วย นักเรียนจึงควรเอาใจใส่ฝึกคิด ฝึกเขียน ฝึกพูดบ่อย ๆ จะ ได้เป็นคนดีมีความสามารถ โปรดนึกถึง พุทธภาษิตบทหนึ่งอยู่เสมอว่า ทนฺโต เสฏฺโฐมนุสฺเสสุ ผู้ฝึกฝนตน (อยู่เสมอ) เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในมวลมนุษย์
หลักเกณฑ์การแต่งกระทู้
ผู้จะแต่งกระทู้ จำเป็นจะต้องทราบหลักเกณฑ์ในการแต่งกระทู้ก่อน หลักเกณฑ์ในการแต่งกระทู้นั้น ผู้ศึกษาพึงทราบตามที่สนามหลวงแผนกธรรมได้วางเป็นหลักเอาไว้ดังข้อความว่า
แต่งอธิบายให้สมเหตุสมผล อ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบด้วย ๑ ข้อ และบอกชื่อคัมภีร์ที่มาแห่งสุภาษิตนั้นด้วย สุภาษิตที่อ้างมานั้น ต้องเรียงเชื่อมความให้สนิทติดต่อ สมกับกระทู้ตั้ง
ชั้นนี้ (ธรรมศึกษาชั้นตรี) กำหนดให้เขียนลงในใบตอบ ตั้งแต่ ๒ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
Advertisement
วิธีการแต่งกระทู้
เมื่อทราบหลักเกณฑ์การแต่งกระทู้โดยย่อแล้ว ต่อไปควรทราบวิธีการแต่ง วิธีการแต่งกระทู้มีองค์ประกอบใหญ่ ๆ ๓ อย่าง คือ
1. คำเริ่มต้น ได้แก่คำว่า บัดนี้ จักอธิบายขยายความธรรมภาษิต ที่ได้ยกขึ้นนิกเขปบท เพื่อเป็นแนวทางแห่งการศึกษา และปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่เวลา หรืออื่นใดตามที่เหมาะสม
2. คำขยายความ คืออธิบายเนื้อความแห่งธรรมภาษิต ซึ่งเป็นกระทู้ปัญหา พร้อมทั้งอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบอย่างน้อย 1 ข้อ พร้อมทั้งบอกที่มาให้ถูกต้อง
3. คำลงท้าย คือ สรุปเนื้อความที่ได้อธิบายมาแล้วโดยย่ออีกครั้งหนึ่ง ให้สอดคล้องกับกระทู้ปัญหา จบลงด้วยคำว่า สมกับธรรมภาษิตว่า……….หรือ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า………. ตามความเหมาะสม (ช่องว่างที่เว้นไว้หมายถึง กระทู้ปัญหาพร้อมทั้งคำแปล)
8 ขั้นตอนการเขียนกระทู้ธรรมตรี
การแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี จะมีขั้นตอนหลักๆ อยู่ ๘ ขั้นตอนใหญ่ จะเห็นว่ามีตัวเลขกำกับอยู่ด้านหน้า หมายถึงขั้นตอนที่ต้องเขียนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เขียน “สุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล” เป็นสุภาษิตที่สนามหลวงกำให้เป็นโจทย์ ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
ขั้นตอนที่ 2 ย่อหน้าเขียน คำนำหรืออารัมภบท คือเขียนคำว่า “บัดนี้ จักได้ …สืบต่อไป”
ขั้นตอนที่ 3 ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง ประมาณ 8-15 บรรทัด จากนั้นต่อด้วยคำ “สมดังสุภาษิต ที่มาใน …ว่า” เช่น “สมดังสุภาษิตที่มาใน ขุทฺทกนิกาย ธรรมบท ว่า” ต้องปิดด้วยคำว่า “ว่า” เสมอ เป็นการบอกที่มาของสุภาษิตเชื่อมก่อนจะเขียนในขั้นที่ 4
ขั้นตอนที่ 4 เขียน สุภาษิตเชื่อมพร้อมคำแปล เป็นสุภาษิตที่เราจำมาเอง ให้อยู่กึ่งกลางและตรงกับสุภาษิตบทตั้งด้วย
ขั้นตอนที่ 5 ย่อหน้าเขียน อธิบายเนื้อความสุภาษิตเชื่อม ประมาณ ๘-๑๕ บรรทัด
ขั้นตอนที่ 6 ย่อหน้าเขียน สรุปความกระทู้ธรรม ให้ได้ใจความสาระสำคัญ ประมาณ ๕-๖ บรรทัด เมื่อสรุปเสร็จแล้ว ต้องเขียนต่อด้วยคำว่า “สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า
ขั้นตอนที่ 7 ให้ยกสุภาษิตบทตั้งพร้อมคำแปล มาเขียนปิดอีกครั้งหนึ่ง และจะต้องเขียนให้อยู่กึ่งกลางตรงกันพอกับสุภาษิตเชื่อม
ขั้นตอนที่ 8 บรรทัดสุดท้ายเขียนคำว่า “มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้” เพื่อปิดการเขียนเรียงแก้กระทู้ธรรมทั้งหมด
สำคัญ : ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1 จนถึง 8 ต้องเขียน “เว้นบรรทัดทุกบรรทัด”
เรื่องราวที่น่าสนใจ :
กระทู้ธรรม ชั้นตรี โท เอก การเขียนเรียงความ แก้กระทู้ธรรม สอบ 7 ธ.ค. 2566